top of page

วิธีรักษา อาการหนังศีรษะเหม็น

ผมเหม็นง่าย มีกลิ่นไม่หาย อาจป่วย Smelly Hair Syndrome !

แม้สภาวะแวดล้อมตอนนี้อาจมีหลายปัจจัยที่ทำให้เราหัวเหม็นกันง่ายขึ้น ทว่าหากสระผมก็แล้ว ทำวิธีไหน ๆ ก็แล้ว อาการผมเหม็นก็ยังอยู่แบบนี้อาจไม่ใช่ภาวะปกติแล้วล่ะ

เคยไหมคะที่สระผมเสร็จใหม่ ๆ ยังไม่ทันได้ออกจากห้องไปไหน แต่จมูกกลับได้กลิ่นไม่ค่อยน่าอภิรมย์บนศีรษะเราซะก่อน

จนบางทีก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่าผมจะรีบเหม็นไปไหน นี่ยังไม่ได้ออกไปเจอสภาวะอากาศภายนอกเลยนะเนี่ย เฮ้อ...

ใครกำลังประสบปัญหาอย่างนี้คงหมดความมั่นใจกันตั้งแต่ยังไม่พ้นจากประตูบ้านใช่ไหมล่ะ ทว่ายังมีประเด็นที่น่าห่อเหี่ยวใจไปมากกว่านั้นอีก เพราะเรากำลังจะบอกกับทุกคนว่า ภาวะผมเหม็นง่ายกว่าปกติ สระผมก็เหมือนยังไม่หาย แบบนี้อาจเข้าข่ายอาการ Smelly Hair Syndrome ก็เป็นได้

ผมเหม็นง่าย (Smelly Hair Syndrome) เกิดจากอะไร

ต้องบอกก่อนว่าภาวะ Smelly Hair Syndrome (SHS) ไม่ถึงกับเรียกว่าเป็นโรค แค่เป็นภาวะผิดปกติของร่างกายที่ทำให้ผมและหนังศีรษะเกิดกลิ่นเหม็นได้ง่าย ซึ่งสาเหตุของอาการผมเหม็นก็จำแนกได้ดังนี้

1. ต่อมไขมันผลิตน้ำมันมากเกินไป

Glenn Lyons ผู้เชี่ยวชาญเรื่องเส้นผมและหนังศีรษะจาก Philip Kingsley Trichological Clinic เผยว่า ภาวะผมเหม็นง่ายในบางคนอาจเกิดจากต่อมไขมันที่อยู่ติดกับรากผมผลิตไขมันออกมามากจนเกินไป ทำให้หนังศีรษะมันและดูดกลิ่นในอากาศเอาไว้ จึงเป็นสาเหตุให้ผมมีกลิ่นเหม็นง่ายกว่าคนอื่น ๆ

2. หนังศีรษะผลิตต่อมเหงื่อมากเกินไป

สำหรับคนที่ไม่ได้มีปัญหาผมมัน แต่กลับมีกลิ่นติดผมได้ง่ายมาก ๆ นั่นอาจเป็นเพราะต่อมเหงื่อบนหนังศีรษะผลิตเหงื่อออกมามากเกินไปก็ได้ค่ะ ทำให้เกิดภาวะอับชื้นบนหนังศีรษะ เป็นต้นเหตุของกลิ่นเหม็น ๆ ได้เช่นกัน

3. ผมเส้นเล็กเกินไป

กับคนที่มีผมเส้นเล็ก เล็กมาก ๆ จนใกล้กับคำว่าเส้นผมเรียงตัวละเอียด ก็อาจมีแนวโน้มสูงที่ผมและหนังศีรษะจะมันกว่าปกติด้วยเช่นกัน และแน่นอนว่าอาจตามมาด้วยกลิ่นไม่พึงประสงค์บนผมเราด้วย

4. การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน

สำหรับคนที่ไม่เคยเกิดอาการผมเหม็นมาก่อนเลยในชีวิต แต่เพิ่งจะมาเป็นเมื่อไม่นานมานี้ ก็เป็นไปได้ว่าช่วงนี้ฮอร์โมนในร่างกายของคุณไม่ปกติ ซึ่งอาจเกิดได้จากความเครียดหรือยาบางชนิด ที่ส่งผลให้เกิดภาวะผมมัน และเกิดกลิ่นเหม็นบนผมได้ ทั้งนี้อาจมีอาการขนดก หรือสิวขึ้นมากกว่าปกติร่วมด้วย

5. ผลข้างเคียงจากโรคเซ็บเดิร์ม

โรคเซ็บเดิร์ม (Seborrheic dermatitis) หรือโรคผื่นผิวหนังอักเสบบริเวณผิวมัน อาจเป็นหนึ่งในสาเหตุของภาวะผมเหม็นได้ด้วยนะคะ เพราะผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการอักเสบของหนังศีรษะซึ่งถ้าเผลอไปแกะหรือเกาอาจมีน้ำเหลืองเยิ้ม หรือถ้าทิ้งไว้นาน ๆ ไม่รักษา สะเก็ดจะหนามากขึ้นเรื่อย ๆ อาจเป็นสาเหตุที่ทำให้ผมร่วงและเกิดกลิ่นไม่พึงประสงค์ได้

อาการของภาวะผมเหม็น เช็กซิใช่เราไหม

โดยปกติแล้วเมื่อเราไปยืนอยู่ใกล้ ๆ ร้านปิ้งย่าง หรือใกล้บริเวณที่ทำอาหาร ผมของเราอาจติดกลิ่นอาหาร กลิ่นควัน หรือกลิ่นมลพิษตามท้องถนนมาบ้าง ทว่าเมื่อเวลาผ่านไป (ไม่เกิน 1 วัน) กลิ่นเหม็นเหล่านั้นจะค่อย ๆ จางลงไปได้เอง หรือเมื่อสระผมกลิ่นเหม็นก็จะหายไป ทว่าหากคุณเป็นเคสที่ต่างออกไป และมีอาการตามบรรทัดด้านล่างนี้ ก็อาจสันนิษฐานได้ว่าอาจกำลังมีภาวะผมเหม็นหรือ Smelly Hair Syndrome อยู่

- สระผมไม่ทันไรผมเหม็นอับอีกแล้ว ทั้ง ๆ ที่ก็เป่าผมจนแห้งสนิททุกครั้ง

- กลิ่นของผมเหมือนกลิ่นอับของฟองน้ำเก่า ๆ หรือบางครั้งก็อับเหมือนกลิ่นสุนัขตอนขนเปียก

- สระผมแล้วกลิ่นเหม็นของผมไม่หายไป แม้จะสระผมหลาย ๆ ครั้งและใส่ผลิตภัณฑ์บำรุงผมกลิ่นหอม ๆ ก็ตาม

- กลิ่นเหม็นของผมจะติดทนนาน ไปสระผมที่ร้านเสริมสวยก็ไม่หาย

- กลิ่นเหม็นของผมไม่สามารถดับได้ด้วยกลิ่นสมุนไพร เช่น หมักมะกรูดแล้วกลิ่นจะดีขึ้นเพียงชั่วคราว แต่ก็กลับมาหัวเหม็นอีกในไม่นาน

วิธีแก้ผมเหม็น

แม้ยังไม่มียารักษาภาวะผมเหม็น (Smelly Hair Syndrome) ที่แน่ชัด แต่ผู้เชี่ยวชาญด้านเส้นผมและหนังศีรษะก็แนะนำวิธีแก้ผมเหม็นมาดังนี้

1. สระผมให้บ่อยขึ้น โดยอาจจะต้องสระผมอย่างน้อยวันละครั้ง ด้วยแชมพูสูตรอ่อนโยน หรือแชมพูที่มีค่า PH อ่อน ๆ เพื่อทำความสะอาดผมโดยที่ไม่ทำร้ายผมหรือหนังศีรษะ

2. ไม่ควรใช้แชมพูที่เข้มข้นจนเกินไป เพราะอาจทำให้หนังศีรษะมีการผลิตไขมันออกมามากขึ้น ซึ่งจะยิ่งทำให้ผมเหม็นมากขึ้นไปอีก

3. ควรหลีกเลี่ยงการใช้ครีมนวดผมบริเวณใกล้กับรากผมด้วย เพื่อลดการกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมัน

4. อย่าลืมเป่าผมและหนังศีรษะให้แห้งสนิททุกครั้งหลังสระผม หรือทุกครั้งที่ผมเปียกชื้น เพราะถ้าหากปล่อยให้ผมชื้นนาน ๆ อาจทำให้แบคทีเรียแพร่กระจายมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่จะทำให้เกิดปัญหาผมอับชื้นและส่งกลิ่นเหม็นได้ง่าย

5. หลีกเลี่ยงการอยู่ในที่ที่มีอากาศร้อนจัด เพราะความร้อนจะกระตุ้นการทำงานของต่อมไขมันให้ผลิตไขมันออกมามาก

6. หลีกเลี่ยงการทำสีผม การดัด และการยืดผม เพราะสารเคมีที่อยู่ในผลิตภัณฑ์เหล่านี้มีผลต่อการอักเสบของต่อมน้ำมัน ซึ่งเป็นสาเหตุให้ผมเหม็นได้ง่ายมากขึ้นนั่นเอง

7. พยายามลดการใช้ผลิตภัณฑ์จัดแต่งทรงผม​ โดยเฉพาะผลิตภัณฑ์จำพวกออยล์ชนิดต่าง ๆ ซึ่งอาจทำให้ผมและหนังศีรษะมันมากขึ้นได้

8. งดอาหารที่มีเครื่องเทศกลิ่นฉุน

9. ควรเปลี่ยนปลอกหมอน ผ้าปูที่นอน รวมทั้งผ้าเช็ดผมบ่อย ๆ เพื่อลดการอับชื้น

10. พยายามตัดผมให้สั้นเพื่อให้มีการระบายอากาศได้ดี ลดการขับเหงื่อจากต่อมเหงื่อให้น้อยลงและง่ายต่อการทำความสะอาด

ผลิตภัณท์ปรับสมดุลหนังศรีษะและต่อมไขมัน ไม่ให้ผลิตย์ไขมันมากเกินจำเป็น ทำให้รูขุมขนกระชับ ลดการอ่อนล้าของหนังศรีษะ มีกลิ่นหอมสดชื่น ให้ความรู้สึกเย็นสบาย



#fanolaสีน้ำเงิน #FanolaLoveLove

ดู 1 ครั้ง0 ความคิดเห็น

댓글

별점 5점 중 0점을 주었습니다.
등록된 평점 없음

평점 추가

Grow Your Vision

Heona ฮีโอนา น้ำยาดัดผมเกาหลี - Fanola Noyellow ฟาโนลา โนเยลโล แชมพูม่วง สีผมสายฝอ - Sweet สวีท น้ำยายืดผมบราซิล

bottom of page